Lab 3

การทดลองที่ 3
การใช้ Oscilloscope ในงานไฟฟ้ากำลัง

อุปกรณ์ประกอบการทดลอง
1.) Oscilloscope Glemtest UTD 2025c   1 เครื่อง

2.) Differential Probe – 30MHz ยี่ห้อ metrix รุ่น MX 9030  2 ตัว

วัตถุประสงค์
·       เพื่อให้นักศึกษารู้จักคุณลักษณะของ Differential Probe
·       เพื่อให้นักศึกษาสามารถวัดแรงดัน Vlineและ VPhase  และสังเกตความต่างเฟสได้
·       เพื่อให้นักศึกษาสังเกตว่ามีการแยก Ground ของระบบกับอุปกรณ์หรือไม่
·       เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาการปรับ Oscilloscope 2 ช่องสัญญาณ

ทฤษฎี
Differential Probe สัญญาณแบบ Differential เป็นสัญญาณที่มีระดับอ้างอิงที่ไม่ใช่กราวนด์  เป็นสัญญาณที่จะนำไปใช้งานต่อไป ที่มีลักษณะเป็นแบบ floating หรือลอยจากกราวนด์ สัญญาณแบบ Differential สามารถทำการวัดได้ 2 วิธี จะแสดงดังภาพ



จากภาพ a เป็นการใช้โพรบ 2 เส้นทำการวัดสัญญาณแบบ single-ended ซึ่งเป็นวิธีที่มักจะใช้กันบ่อยๆ ในการวัดสัญญาณแบบ Differential วิธีการวัดคือจะใช้ออสซิลโลสโคปวัด 2 ช่องสัญญาณพร้อมกัน โดยโพรบ 2 เส้นทำการวัดแบบเทียบกับกราวนด์ ( single-ended ) และใช้ฟังก์ชั่นทาง
คณิตศาสตร์ของออสซิลโลสโคปทำการลบสัญญาณทั้ง 2 ซึ่งวิธีนี้จะสามารถวัดสัญญาณที่มีความถี่ต่ำและขนาดของสัญญาณที่วัดจะต้องสูงกว่าขนาดของสัญญาณรบกวน ปัญหาของการวัดโดยวิธีนี้คือสัญญาณที่มีความเร็วสูงจะทำให้เกิดความผิดพลาดในส่วนของเวลาเมื่อทำการวัดความแตกต่างของพัลส์
อีกอย่างหนึ่งก็คือ การวัดแบบ single-ended ไม่สามารถที่จะกำจัดสัญญาณรบกวน common-mode ได้เพียงพอที่ระดับสัญญาณต่ำๆ ซึ่ง Differential Probe นั้นจะสามารถกำจัดสัญญาณรบกวน common-modeให้ออกจากสัญญาณ Differential ได้ โดยการทำงานแบบนี้จะเรียกว่า อัตราส่วนการกำจัดสัญญาณ common-mode ( common-mode rejection ratio : CMRR )”สำหรับการวัดโดยใช้ Differential Probe นั้นจะใช้วงจรขยายความแตกต่างซึ่งจะนำสัญญาณ2 อันมาลบกันแล้วได้ผลลัพธ์ออกมาเพียงช่องสัญญาณเดียวเข้าที่ออสซิลโลสโคปโดยตรง ดังภาพที่ bโดยวิธีนี้จะได้ค่า CMRR ที่สูงมากตลอดย่านความถี่ เช่น Tektronix P6247 ซึ่งจะมี Bandwidth ถึง 1 GHzและมีย่านของ CMRR อยู่ในช่วง 60 dB (1000:1) ที่ 1 MHz ถึง 30 dB (32:1) ที่ 1 GHz เป็นต้น

การสังเกตความต่างเฟสของรูปคลื่นสัญญาณ ทำได้โดย
1.จากการพิจารณาจากความสัมพันธ์ของการหามุมต่างเฟส


 
 

การทดลอง
ทำการวัดแรงดันไฟฟ้า 3 เฟส โดยวัดแรงดันเฟส R เทียบกับเฟส S (VRS)


สรุปผลการทดลอง
                1. สัญญาณแรงดันเฟส R (เส้นสีฟ้า) และเฟส S (เส้นสีเหลือง) ณ จุดๆเดียวกันในแต่ละรูปคลื่น อยู่ห่างกันประมาณ 6.5 ช่องเล็ก โดยสัญญาณ 1 ลูกคลื่นมีทั้งหมด 20 ช่องเล็ก
20 ช่อง : 360 องศา
6.5 ช่อง : 360 x (6.5/20) = 117 องศา
ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฏีคือแรงดันไฟฟ้าแต่ละเฟสใน Balance Source มีเฟสต่างกัน 120 องศา
2. Differential Probe สามารถใช้วัดสัญญาณแรงดัน VRS (สายแดงต่อกับ R และสายดำต่อกับ S) และ VST (สายแดงต่อกับ S และสายดำต่อกับ T) พร้อมๆกันได้เลย โดยไม่เกิดการลัดวงจรขึ้นที่เฟส S กับ T เนื่องจากสาย Ground (สายดำ) ของ Probe เพราะว่า Differential Probe นั้นสามารถแยก Ground ของโพรบออกจากระบบการวัดได้ ช่วยให้โอกาสที่จะเกิดความเสียหายขึ้นในการใช้งานน้อยลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น