Lab 5

การทดลองที่ 5
Instrument Transformer and Power Measurement

อุปกรณ์ประกอบการทดลอง
1.) Power Meter NANOVIP ELCONTROL ENERGY  1 เครื่อง

2.) Ammeter AC JIS C1102 YOKOGAWA  2 เครื่อง

3.) Voltmeter AC MODLE SK-5000B ACC 2%  2 เครื่อง

4.) Wattmeter AC+DC JIS C1102 YOKOGAWA  1 เครื่อง

5.) Transformer 440VA  1 เครื่อง

6.) Current Transformer GWA 110  1 เครื่อง


7.) Junction Box  1 กล่อง

8.) ชุดโหลดหลอดไฟ 8 ดวง  1 ชุด

วัตถุประสงค์
·       เพื่อให้นักศึกษาสามารถสังเกตความถูกต้องของการวัดทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
·       เพื่อให้นักศึกษาสังเกตความถูกต้องของกระแสและแรงดันที่ต้องผ่าน CT และ PT


ทฤษฎี
หม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้กับเครื่องวัด (Instrument Transformer)
ในระบบที่มีแรงดันสูงมาก (High Voltage System) จะนำเครื่องวัดมาวัดปริมาณไฟฟ้าโดยตรงไม่ได้ เนื่องจากย่านการวัดของเครื่องวัดมีขอบเขตจำกัด   ดังนั้นจึงต้องมีอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับเครื่องมือวัดนั้น ๆเสียก่อน อุปกรณ์ ดังกล่าวเรียกว่า หม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้กับเครื่องวัด ซึ่งช่วยป้องกันความเสียหายแก่เครื่องวัดและป้องกันอันตรายแก้ผู้ใช้เครื่อง วัดหม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้กับเครื่องวัดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ หม้อแปลงแรงดันไฟฟ้า และหม้อแปลงกระแสไฟฟ้า
1. หม้อแปลงแรงดันไฟฟ้า (Potential Transformer; P.T.)
หม้อแปลงไฟฟ้า มีหลักการทำงานเหมือนกับหม้อแปลงกำลังไฟฟ้า (Power Transformer) ทั่วไป ทำหน้าที่ แปลงแรงดันไฟฟ้าที่ต่อคร่อมกับขดลวดปฐมภูมิของหม้อแปลงไฟฟ้าให้ต่ำลง เพื่อให้เหมาะสมกับย่านการวัดของโวลต์มิเตอร์
สมการพื้นฐานที่แสดงอัตราส่วนของ P.T. เป็นดังนี้

เมื่อ   
a1     =     อัตราส่วนของ P.T.                                 
V1    =   แรงดันไฟฟ้าของขดลวดปฐมภูมิ        V2    =   แรงดันไฟฟ้าของขดลวดทุติยภูมิ        
N1    =    จำนวนรอบของขดลวดปฐมภูมิ         N2    =    จำนวนรอบของขดลวดทุติยภูมิ
2. หม้อแปลงกระแสไฟฟ้า (Curent Transformer; C.T.)
หม้อแปลงกระแสไฟฟ้า จะได้รับการออกแบบสำหรับต่ออนุกรมกับสาย ที่มีกระแสไฟฟ้าสูง  (High Current) ทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าให้ต่ำลง เพื่อให้เหมาะสมกับย่านการวัดของแอมมิเตอร์ และวัตต์มิเตอร์
รูป  แสดงลักษณะของหม้อแปลงกระแสไฟฟ้า C.T.
สมการพื้นฐานที่แสดงอัตราส่วนของ C.T. คือ
เมื่อ
a2    =     อัตราส่วนของ C.T.                                  
I1     =     กระแสไฟฟ้าของขดลวดปฐมภูมิ       I2     =   กระแสไฟฟ้าของขดลวดทุติยภูมิ       
N1    =    จำนวนรอบของขดลวดปฐมภูมิ         N2    =    จำนวนรอบของขดลวดทุติยภูมิ
 
ตัวอย่าง  จงหากระแสไฟฟ้า, แรงดันไฟฟ้าและกำลังไฟฟ้าของโหลด ที่ทำให้เครื่องวัดอ่านค่าได้ดังรูป
    กระแสของโหลด            =             ค่าที่อ่านได้จากแอมมิเตอร์ X อัตราส่วนของ C.T.
                                                                     
    แรงดันของโหลด          =             ค่าที่อ่านได้จากโวลต์มิเตอร์ X อัตราส่วนของ P.T.
                                                     
     กำลังของโหลด            =             ค่าที่อ่านได้จากวัตต์มิเตอร์ X อัตราส่วน C.T. X อัตราส่วน P.T
                                                                             
                                              =             105 kW
การทดลอง

 1. ทำการทดลองโดยใช้มิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า กำลังไฟฟ้า สำหรับโหลดแบบต่างๆ

จากการวัดแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และกำลังไฟฟ้า โดยการวัดโดยตรงและวัดโดยอ้อมผ่าน หม้อแปลงแรงดัน P.T (2/1) และหม้อแปลงกระแส C.T (2/1) พบว่ามีความผิดพลาดดังตารางต่อไปนี้

วัดแรงดันไฟฟ้า

วัดกระแสไฟฟ้า

วัดกำลังไฟฟ้า

2. วัดระดับแรงดัน และระดับกระแสในวงจรทั้งฝั่งปฐมภูมิและทุติยภูมิของหม้อแปลงแรงดันและหม้อแปลงกระแส จะได้ว่าอัตราส่วนการแปลง (Ratio) ของหม้อแปลงทั้ง 2 ชนิดที่ใช้ในการทดลองเป็นไปดังตารางต่อไปนี้

หม้อแปลงแรงดัน (P.T)

หม้อแปลงกระแส (C.T)

สรุปผลการทดลอง
                1. การวัดโดยอ้อมนั้นมีความคลาดเคลื่อนในระดับหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดจากความผิดพลาดหม้อแปลงแรงดัน (P.T) และหม้อแปลงกระแส (C.T) ที่ใช้แปลงระดับแรงดันและระดับกระแสที่ต้องการวัดลงมา เพื่อทำการวัดโดยอ้อมนั้น ไม่สามารถแปลงระดับแรงดันและระดับกระแสลงมาได้ตามที่ระบุไว้ในฉลาก (2/1) ได้อย่างแม่นยำ และเกิดจากความคลาดเคลื่อนในการอ่านค่าจากมิเตอร์แบบเข็มชี้ที่ใช้ในการทดลอง
2. หม้อแปลงแรงดัน (P.T) ที่ใช้ในการทดลองมี Ratio ของการแปลงแรงดันเป็น 2.2/1 พบว่าไม่ตรงกับที่ระบุไว้ว่า 2/1 โดยคิดความผิดพลาดได้เท่ากับ 10%
3. หม้อแปลงกระแส (C.T) ที่ใช้ในการทดลองมี Ratio ของการแปลงกระแสเป็น 2.05/1 พบว่าไม่ตรงกับที่ระบุไว้ว่า 2/1 โดยคิดความผิดพลาดได้เท่ากับ 2.5%

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น